Calenders

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



บันทึกการปฏิบัติงานวิชาชีพครูในสถานศึกษา ๒
โรงเรียนบ้านท่าเรือมิตรภาพที่ ๓๐  
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช

ตารางสอน โรงเรียนบ้านท่าเรือมิตรภาพที่  ๓๐
ประจำภาคเรียนที่  ปีการศึกษา ๒๕๕๕


เวลา
๐๘.๓๐
-๐๙.๓๐
 ๐๙.๓๐
-๑๐.๓๐
 ๑๐.๓๐
-๑๑.๓๐
 ๑๑.๓๐
-๑๒.๓๐
 ๑๒.๓๐
-๑๓.๓๐
 ๑๓.๓๐
-๑๔.๓๐
 ๑๔.๓๐
-๑๕.๓๐

วัน/คาบ






จันทร์
ภาษาไทย
.๓/๑
ภาษาไทย
.๓/๒
อังคาร
ภาษาไทย
.๓/๑
ภาษาไทย
.๓/๒
ภาษาไทย
.๓/๑
พุธ
พฤหัสบดี
ภาษาไทย
.๓/๒
ศุกร์
ภาษาไทย
.๓/๒
ภาษาไทย
.๓/๒
ภาษาไทย
.๓/๑
ภาษาไทย
.๓/๑



ภาระงานสอนรายวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่  ๓/๑  และ ๓/๒  จำนวน ๑๐  ชั่วโมง/สัปดาห์




สัปดาห์ที่ ๑ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๖  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕

 สิ่งที่ได้เรียน
ได้เรียนรู้พฤติกรรมของนักเรียนแต่ละบุคคลและได้ทำหน้าที่ครูที่ปรึกษามากขึ้น
ได้เรียนรู้งานด้านการจัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอน ซึ่งเป็นงานที่จะต้องปฏิบัติและเตรียมตัวก่อนเข้าสอนนักเรียน       
ได้เรียนรู้การเตรียมการสอนและเตรียมตัวที่ดีมาล่วงหน้า ได้นำความรู้ที่เรียนมาไปสอนนักเรียนจริง
-ได้เรียนรู้การควบคุมชั้นเรียนที่ดี
ได้เรียนรู้วิธีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องตามสมรรถนะของผู้เรียนและเวลาในการเรียน
ได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในห้องเรียน การสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้กับนักเรียน
ได้ความรู้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้แก่นักเรียน
ได้เรียนรู้วิธีการจัดทำโครงการในรูปแบบต่างๆ และการสร้างประชาธิปไตยในการตัดสินใจทำโครงการต่างๆ

 ปัญหา/ อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
นักเรียนจะมีการพูดคุยเสียงดังและไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการทำงาน
การแก้ไข คือ มีการตั้งกฎของห้องเรียนทำให้นักเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น
ในการจัดระเบียบแถว นักเรียนจะมีการพูดคุยบ้าง
แก้ปัญหา คือ ตักเตือน และสอนพฤติกรรมที่เหมาะสมในการเข้าแถว
นักเรียนไม่ทำการบ้าน
การแก้ปัญหา คือ ตักเตือนและลงโทษโดยให้ทำงานเพิ่มรวมถึงการหักคะแนน

สิ่งที่ควรศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
การศึกษาและพัฒนาการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรและตรงตามสมรรถนะของผู้เรียน
การควบคุมชั้นเรียนและการสร้างแรงจูงในให้แก่ผู้เรียน

 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหารโรงเรียน/
ครูพี่เลี้ยง/ อาจารย์นิเทศ


นักเรียนแต่ละห้องจะมีนิสัยและผลการเรียนไม่เหมือนกัน ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอนจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมและความสามารถของผู้เรียน

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555


บันทึกการปฏิบัติงานสัปดาห์ ที่ ๑๐ ๑๑  ตั้งแต่วันที่  ๒๓ ๓  เดือน กรกฎาคม  - สิงหาคม   พ.ศ. ๒๕๕๕
กิจกรรมที่ได้ปฏิบัติ
Ø  เวรต้อนรับนักเรียนหน้าประตูโรงเรียนและส่งนักเรียนกลับบ้าน ร่วมกับครูเวรประจำวัน   ( เฉพาะเวรวันพุธ )
Ø  ทำกิจกรรมหน้าเสาธง ช่วยครูควบคุมแถว ทุกๆวันและวันพุธกิจกรรมออกกำลังกายตอนเช้าทุกสัปดาห์
Ø  ทำกิจกรรมการเรียนการสอน ตามตารางการสอน และช่วยสอนแทนครูสุคนธ์  ศรีโมราวิชาคณิตศาสตร์
Ø  ช่วยแม่ครัวตักกับข้าวกลางวัน
Ø   วันที่  ๒๕ ๒๗  เวลา ๐๘.๓๐-๑๕.๓๐ น. ดูแลนักกีฬาประจำสีเหลือง และทีมเชียร์สีเหลือง 

ผลการปฏิบัติงาน
Ø  ครูทุกท่านคอยให้ความช่วยเหลือเสมอ
Ø  นักเรียนให้ความร่วมมือในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ
Ø  การจัดกิจกรรมหน้าเสาธง ในขณะที่ทำกิจกรรมนักเรียนบางคนพูดคุยเพราะระดับสมาธิของนักเรียนไม่เท่ากัน
Ø  ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบางครั้งมีเด็กนักเรียนบางคนพูดคุยกัน และไม่ค่อยทำกิจกรรม

แนวทางในการแก้ไข
Ø  สำหรับนักเรียนที่พูดคุยกันในชั้นเรียน หรือไม่ค่อยสนใจ จะพยายามให้เขาทำกิจกรรมกับเรามากที่สุด เช่น มีคำถามมาถามและจะสุ่มชื่อนักเรียน นักเรียนก็จะตั้งใจฟัง ถ้าตอบไม่ได้ก็จะถูกลงโทษและเขาก็จะอายเพื่อนๆ นักเรียนจึงตั้งใจฟัง
Ø  บางกิจกรรมถ้า  มีชิ้นงานให้ทำจะพยายามให้นักเรียนทำให้เสร็จในห้องเรียน เพราะถ้าเป็นการบ้านนักเรียนจะทำงานไม่เสร็จ หายบ้าง ลืมบ้าง

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


บันทึกการปฏิบัติงานสัปดาห์ ที่ ๘ – ๙  ตั้งแต่วันที่  ๙ – ๒๐ เดือน กรกฎาคม  พ.. ๒๕๕๕ 


กิจกรรมที่ได้ปฏิบัติ

Ø  เวรต้อนรับนักเรียนหน้าประตูโรงเรียนและส่งนักเรียนกลับบ้าน ร่วมกับครูเวรประจำวัน   ( เฉพาะเวรวันพุธ )
Ø  ทำกิจกรรมหน้าเสาธง ช่วยครูควบคุมแถว ทุกๆวันผู้อำนวยการจะทำกิจกรรมร่วมกับครู และนักเรียน เช่น เล่านิทาน ร้องเพลง นั่งสมาธิ เพื่อสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักเรียน
Ø  ทำกิจกรรมการเรียนการสอน ตามตารางการสอน และช่วยสอนแทนครูติดธุระวิชาพละ  และวิชาคณิตศาสตร์
Ø  ช่วยแม่ครัวตักกับข้าวกลางวัน
Ø   ทุกๆวัน เวลา ๑๔.๓๐-๑๕.๓๐ น. จะต้องช่วยครูซ้อมนักกีฬาประจำสีเหลือง และทีมเชียร์สีเหลือง  

ผลการปฏิบัติงาน

Ø  ครูทุกท่านคอยให้ความช่วยเหลือเสมอ
Ø  นักเรียนให้ความร่วมมือในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ
Ø  การจัดกิจกรรมหน้าเสาธง ในขณะที่ทำกิจกรรมนักเรียนบางคนพูดคุยเพราะระดับสมาธิของนักเรียนไม่เท่ากัน
Ø  ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบางครั้งมีเด็กนักเรียนบางคนพูดคุยกัน และไม่ค่อยสนใจ
Ø  เมื่อมีการจัดกิจกรรม ทำให้ชั่วโมงสอนในสัปดาห์ไม่ครบจึงจะต้องสอนในสัปดาห์ถัดไป

แนวทางในการแก้ไข

Ø  สำหรับนักเรียนที่พูดคุยกันในชั้นเรียน หรือไม่ค่อยสนใจ จะพยายามให้เขาทำกิจกรรมกับเรามากที่สุด เช่น มีคำถามมาถามและจะสุ่มชื่อนักเรียน นักเรียนก็จะตั้งใจฟัง ถ้าตอบไม่ได้ก็จะถูกลงโทษและเขาก็จะอายเพื่อนๆ นักเรียนจึงตั้งใจฟัง
Ø  บางกิจกรรมถ้า  มีชิ้นงานให้ทำจะพยายามให้นักเรียนทำให้เสร็จในห้องเรียน เพราะถ้าเป็นการบ้านนักเรียนจะทำงานไม่เสร็จ หายบ้าง ลืมบ้าง

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่  ๖ และ ๗  ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มิ.ย. ๒๕๕๕ ๖ ก.ค. ๒๕๕๕

กิจกรรมที่ปฏิบัติ
                ๑. ควบคุมนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔/๑  ทำความสะอาดเขตรับผิดชอบ
                ๒. กิจกรรมหน้าเสาธง
                ๓. แจกอาหารเสริมให้นักเรียน ( นม )
                ๔. ดูแลนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓/๑  รับประทานอาหารกลางวันและช่วย
                      แม่ครัวตักกับข้าวให้นักเรียน
                ๕. วันพุธ เวรประจำวันตอนรับนักเรียนหน้าประตูโรงเรียนและตอนบ่าย
                       ส่งนักเรียนขึ้นรถประจำโรงเรียนกลับบ้าน
                ๖. กิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๓/๑  และ ๓/๒
                     ( ๑๐ คาบ/ สัปดาห์ )
                ๗. เข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมชั้นประถมศึกษาปีที่  ๓/๑
                ๘. เข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือชั้นประถมศึกษาปีที่  ๓/๑  ครูสอนเรื่องการร้องเพลงพร้อมประกอบท่าทาง
                ๙. กิจกรรมนันทนาการ  เรื่องการร้องเพลงประกอบท่าทาง  ทำให้นักเรียนเกิดความผ่อนคลาย 
                   ความสนุกสนาน  ความกล้าแสดงออก   และความสามัคคีในหมู่คณะ

ผลการปฏิบัติงาน
                ๑. ได้ฝึกให้นักเรียนมีระเบียบแถว
                ๒. ทราบถึงพฤติกรรมของนักเรียนที่รับผิดชอบมากขึ้น
                ๓. ได้ฝึกปฏิบัติงานในหน้าที่ครูที่ปรึกษามากขึ้น
                ๔. ได้ฝึกการรายงานสถิติจำนวนนักเรียนต่อฝ่ายทะเบียน
                ๕. ได้รู้จักการวางแผนการสอนและการจัดการชั้นเรียนให้เหมาะสม
                ๖. ได้เรียนรู้การจัดการจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในโรงเรียน
                ๗. ได้เรียนรู้การพัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขึ้น
                 ๘. การนันทนาการให้นักเรียนชั้นประถมศึกษามีความร่าเริงและสามัคคีกัน

ปัญหาและการแก้ไข
                ๑. ปัญหา คือ นักเรียนไม่ทำการบ้าน
                  การแก้ปัญหา คือ เรียกชื่อแล้วให้ทำการบ้านและตักเตือนให้ทำการบ้านมาด้วย
                ๒. ปัญหา คือ การจัดกิจกรรมนันทนาการ  เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  ๑  
                     แนวทางแก้ไข  ให้นักเรียนนั่งตามแถวตั้งแต่แถวที่ ๑ ๓  แถวที่ ๑  ชั้นปีที่  ๑
                    แถวที่ ๒  ชั้นปีที่  ๓ ๔  แถวที่ ๓  ชั้นปีที่  ๕ ๖    

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555


สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่  ๔ และ ๕  ตั้งแต่วันที่ ๑๑ มิ.ย. ๒๕๕๕ – ๒๒ มิ.ย. ๒๕๕๕

กิจกรรมที่ปฏิบัติ
                ๑. ควบคุมนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔/๑  ทำความสะอาดเขตรับผิดชอบ
                ๒. กิจกรรมหน้าเสาธง
                ๓. แจกอาหารเสริมให้นักเรียน ( นม )
                ๔. ดูแลนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓/๑  รับประทานอาหารกลางวันและช่วย
                      แม่ครัวตักกับข้าวให้นักเรียน
                ๕. วันพุธ เวรประจำวันตอนรับนักเรียนหน้าประตูโรงเรียนและตอนบ่าย
                       ส่งนักเรียนขึ้นรถประจำโรงเรียนกลับบ้าน
                ๖. กิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๓/๑  และ ๓/๒
                     ( ๑๐ คาบ/ สัปดาห์ )
                ๗. เข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมชั้นประถมศึกษาปีที่  ๓/๑ 
                ๘. เข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือชั้นประถมศึกษาปีที่  ๓/๑  ครูสอนเรื่องกฎของลูกเสือ
                      สำรองและคำปฏิญาณตนลูกเสือสำรองและให้นักเรียนวาดภาพการทำความดี
                       ของนักเรียนพร้อมบรรยายใต้ภาพ
                ๙. เข้าร่วมกิจกรรมประชุมนักเรียนและคุมนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  ๓/๑  
                      เรื่องการไหว้

ผลการปฏิบัติงาน
                ๑. ได้ฝึกให้นักเรียนมีระเบียบแถว
                ๒. ทราบถึงพฤติกรรมของนักเรียนที่รับผิดชอบมากขึ้น
                ๓. ได้ฝึกปฏิบัติงานในหน้าที่ครูที่ปรึกษามากขึ้น
                ๔. ได้ฝึกการรายงานสถิติจำนวนนักเรียนต่อฝ่ายทะเบียน
                ๕. ได้รู้จักการวางแผนการสอนและการจัดการชั้นเรียนให้เหมาะสม
                ๖. ได้เรียนรู้การจัดการจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในโรงเรียน
                ๗. ได้เรียนรู้การพัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขึ้น

ปัญหาและการแก้ไข
                ๑. ปัญหา คือ นักเรียนไม่ทำการบ้าน
                  การแก้ปัญหา คือ เรียกชื่อแล้วให้ทำการบ้านและตักเตือนให้ทำการบ้านมาด้วย
                ๒. ปัญหา คือ นักเรียนเอาของเล่นมาเล่นในขณะที่เรียนอยู่
                 การแก้ปัญหา คือ ครั้งที่ ๑ ครูตักเตือนก่อน  ครั้งที่ ๒ ครูเก็บของเล่น