Calenders

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



บันทึกการปฏิบัติงานวิชาชีพครูในสถานศึกษา ๒
โรงเรียนบ้านท่าเรือมิตรภาพที่ ๓๐  
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช

ตารางสอน โรงเรียนบ้านท่าเรือมิตรภาพที่  ๓๐
ประจำภาคเรียนที่  ปีการศึกษา ๒๕๕๕


เวลา
๐๘.๓๐
-๐๙.๓๐
 ๐๙.๓๐
-๑๐.๓๐
 ๑๐.๓๐
-๑๑.๓๐
 ๑๑.๓๐
-๑๒.๓๐
 ๑๒.๓๐
-๑๓.๓๐
 ๑๓.๓๐
-๑๔.๓๐
 ๑๔.๓๐
-๑๕.๓๐

วัน/คาบ






จันทร์
ภาษาไทย
.๓/๑
ภาษาไทย
.๓/๒
อังคาร
ภาษาไทย
.๓/๑
ภาษาไทย
.๓/๒
ภาษาไทย
.๓/๑
พุธ
พฤหัสบดี
ภาษาไทย
.๓/๒
ศุกร์
ภาษาไทย
.๓/๒
ภาษาไทย
.๓/๒
ภาษาไทย
.๓/๑
ภาษาไทย
.๓/๑



ภาระงานสอนรายวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่  ๓/๑  และ ๓/๒  จำนวน ๑๐  ชั่วโมง/สัปดาห์




สัปดาห์ที่ ๑ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๖  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕

 สิ่งที่ได้เรียน
ได้เรียนรู้พฤติกรรมของนักเรียนแต่ละบุคคลและได้ทำหน้าที่ครูที่ปรึกษามากขึ้น
ได้เรียนรู้งานด้านการจัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอน ซึ่งเป็นงานที่จะต้องปฏิบัติและเตรียมตัวก่อนเข้าสอนนักเรียน       
ได้เรียนรู้การเตรียมการสอนและเตรียมตัวที่ดีมาล่วงหน้า ได้นำความรู้ที่เรียนมาไปสอนนักเรียนจริง
-ได้เรียนรู้การควบคุมชั้นเรียนที่ดี
ได้เรียนรู้วิธีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องตามสมรรถนะของผู้เรียนและเวลาในการเรียน
ได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในห้องเรียน การสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้กับนักเรียน
ได้ความรู้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้แก่นักเรียน
ได้เรียนรู้วิธีการจัดทำโครงการในรูปแบบต่างๆ และการสร้างประชาธิปไตยในการตัดสินใจทำโครงการต่างๆ

 ปัญหา/ อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
นักเรียนจะมีการพูดคุยเสียงดังและไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการทำงาน
การแก้ไข คือ มีการตั้งกฎของห้องเรียนทำให้นักเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น
ในการจัดระเบียบแถว นักเรียนจะมีการพูดคุยบ้าง
แก้ปัญหา คือ ตักเตือน และสอนพฤติกรรมที่เหมาะสมในการเข้าแถว
นักเรียนไม่ทำการบ้าน
การแก้ปัญหา คือ ตักเตือนและลงโทษโดยให้ทำงานเพิ่มรวมถึงการหักคะแนน

สิ่งที่ควรศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
การศึกษาและพัฒนาการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรและตรงตามสมรรถนะของผู้เรียน
การควบคุมชั้นเรียนและการสร้างแรงจูงในให้แก่ผู้เรียน

 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหารโรงเรียน/
ครูพี่เลี้ยง/ อาจารย์นิเทศ


นักเรียนแต่ละห้องจะมีนิสัยและผลการเรียนไม่เหมือนกัน ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอนจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมและความสามารถของผู้เรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น